บันทึกครบรอบ 2 ปีของการทำงานไม้

บันทึกครบรอบ 2 ปีของการทำงานไม้  ผมเรียนจบ ศึกษาศาสตร์ วิชาเอกเทคโนโลยีการศึกษา นั่นหมายความว่าถ้าไปตามสายงาน ผมก็จะเป็นครูห้องโสต แต่ชิวิตไม่ได้ถูกลิขิตให้เดินทางไปเส้นทางนั้น กลับเดินไปเส้นทางคอมพิวเตอร์ ซึ่งคิดว่าเป็นงานที่รักมากในขณะนั้น

ผมโลดโผนอยู่ในวงการคอมพิวเตอร์ในเส้นทางที่คนอื่นไม่ไป หรือไปน้อยมากนั่นคือ ระบบปฏิบัติการลีนุกซ์ รัก ชอบ บ้าคลั่งก็ว่าได้ ไม่ค่อยสนใจ ระบบปฏิบัติการ Windows เล่นระบบปฏิบัติการลีนุกซ์มาจนสอบได้ Red Hat Certified Engineer (RHCE)  ถือว่าเป้าหมายสูงสุดของชีวิต ที่อยู่ในวงการนี้ ความภาคภูมิใจนอกเหนือจาก RHCE คือการได้เป็นวิทยากรสอนระบบปฏิบัติการลีนุกซ์ ที่ลูกศิษย์ส่วนใหญ่เป็นเจ้าหน้าที่คอมพิวเตอร์ของโรงพยาบาล และช่วยแก้ปัญหา กู้ข้อมูลให้กับโรงพยาบาลต่างๆ มาหลายต่อหลายที่ พ.ศ. 2540-2550 ที่โลดโผนอยู่ในวงการนี้ ถึงเวลาที่อยากกลับบ้าน

Read more

Loading

การติดตั้ง PostgreSQL 12 บน CentOS 8

การติดตั้ง PostgreSQL 12 บน CentOS 8 PostgreSQL 12 เป็นเวอร์ชันล่าสุดในตอนนี้ การติดตั้งมีคำแนะนำอยู่ในเว็บ postgresql.org อยู่แล้ว ที่ https://www.postgresql.org/download/linux/redhat/ ซึ่งสามารถทำตามขั้นตอนนั้นได้เลย แต่มีปัญหาว่าทำตามขั้นตอนนั้นแล้วค้นหาแพ็กเก็จ postgresql12 ไม่เจอ ไม่สามารถติดตั้งได้ มีวิธีการแก้ปัญหาอย่างไร ติดตามได้ครับ

Read more

Loading

สิ่งที่ควรทำหลังจากติดตั้ง CentOS 8

สิ่งที่ควรทำหลังจากติดตั้ง CentOS 8 เสร็จ หลังจากที่เราติดตั้ง CentOS เสร็จแล้ว บางครั้งในขั้นตอนการติดตั้งเราได้ตั้งค่าบางอย่างผิดพลาดไป ก็สามารถตั้งค่าใหม่ได้ ซึ่งมีเครื่องมือต่างๆ มาช่วยอำนวยความสะดวก ไม่ว่าจะเป็น คำสั่ง, TUI และ GUI ก็สามารถเลิกใช้ได้ตามถนัด

ปิดการทํางานของ SELinux

Security-Enhanced Linux (SELinux) เป็นระบบรักษาความปลอดภัยที่เพิ่มเติมเข้ามารวมกันเข้ากับเคอร์เนล ตั้งแต่เคอร์เนล 2.6.x เป็นต้นมา ซึ่งมีความยุ่งยากซับซ้อนในการใช้งานพอสมควร ถ้าไม่ปิดไปก่อนก็จะสร้างปัญหาให้กับการทำงานเป็นอย่างมาก จึงแนะนำให้ปิดไปก่อน

Read more

Loading

การติดตั้ง CentOS 8

การติดตั้ง CentOS 8 นั้นไม่ได้ยาก ถ้าหากเรามีความเข้าใจการแบ่งพาร์ติชัน เพราะส่วนมากที่ติดตั้งไม่ผ่านนอกจากปัญหาฮาร์ดแวร์แล้ว ก็ติดตรงขั้นตอนการแบ่งพาร์ติชัน

สิ่งควรรู้ก่อนติดตั้ง CentOS 8

เซิร์ฟเวอร์ที่จะติดตั้ง เป็น BIOS หรือ UEFI

เซิร์ฟเวอร์รุ่นเก่าที่เป็น BIOS จัดการดิสก์ แบบ Master Boot Record มี Primary
Partition, Extended Partition และ Logical Partition ข้อจำกัดคือแบ่งเป็น
Primary Partition ได้แค่ 4 พาร์ติชัน หาต้องการมากกว่านั้น ก็ต้องแบ่งเป็น
Extended Partition แล้วแบ่ง เป็น Logical Partition และจัดการดิสก์ได้ไม่เกิน 2 TB ส่วน UEFI ใช้ GPT (GUID Partition Table) ในการจัดการดิสก์
แบ่งพาร์ติชั้นได้ไม่จำกัดขึ้นกับ OS รองรับดิสก์มากกว่า 2 TB

Read more

Loading

รู้จักฮาร์ดดิสก์

รู้จักฮาร์ดดิสก์ สำหรับฮาร์ดดิสก์เชื่อว่าทุกคนคงรู้จักกันดีเพราะเป็นอุปกรณ์สำคัญที่ขาดเสียไม่ได้ แต่จะมีใครที่เข้าใจถึงโครงสร้างภายในของฮาร์ดดิสก์ สำหรับผู้ใช้งานวินโดว์ ไม่จำเป็นต้องรู้ก็ได้เพราะสุดท้ายแล้ว เราก็ได้ Drive C:\ Drive D:\ … แต่สำหรับลีนุกซ์แล้วหากไม่เข้าใจโครงสร้างของฮาร์ดดิสก์แล้ว ในขั้นตอนพาร์ติชันอาจทำให้งง และไม่สามารถแบ่งพาร์ติชันได้ สำหรับคอมพิวเตอร์ที่เป็น BIOS ก็จะจัดการฮาร์ดดิสก์แบบ MBR ส่วนคอมพิวเตอร์ที่เป็น UEFI ก็จะจัดการฮาร์ดดิสด์ แบบ GUID

Read more

Loading