รู้จักฮาร์ดดิสก์ สำหรับฮาร์ดดิสก์เชื่อว่าทุกคนคงรู้จักกันดีเพราะเป็นอุปกรณ์สำคัญที่ขาดเสียไม่ได้ แต่จะมีใครที่เข้าใจถึงโครงสร้างภายในของฮาร์ดดิสก์ สำหรับผู้ใช้งานวินโดว์ ไม่จำเป็นต้องรู้ก็ได้เพราะสุดท้ายแล้ว เราก็ได้ Drive C:\ Drive D:\ … แต่สำหรับลีนุกซ์แล้วหากไม่เข้าใจโครงสร้างของฮาร์ดดิสก์แล้ว ในขั้นตอนพาร์ติชันอาจทำให้งง และไม่สามารถแบ่งพาร์ติชันได้ สำหรับคอมพิวเตอร์ที่เป็น BIOS ก็จะจัดการฮาร์ดดิสก์แบบ MBR ส่วนคอมพิวเตอร์ที่เป็น UEFI ก็จะจัดการฮาร์ดดิสด์ แบบ GUID
การจัดการฮาร์ดดิสก์แบบ แบบ MBR
คอมพิวเตอร์ที่ใช้ BIOS จะมีการจัดการฮาร์ดดิสก์แบบ MBR ถ้าจะพูดถึงโครงสร้างอาจมีรายละเอียดปลีกย่อยกว่านี้ แต่ในที่นี้จะกล่าวถึงในส่วนที่จำเป็นที่จะต้องทำความเข้าใจ สำหรับการติดตั้งลีนุกซ์ ซึ่งมีดังนี้
- MBR (Master Boot Record)
- Primary Partition
- Extended Partition
- Logical Partition
Master Boot Record (MBR)
MBR จะอยู่ที่เซกเตอร์แรกสุดของฮาร์ดดิสก์ MBR จะประกอบด้วยสองส่วน คือ IPL (Initial Program Loader) ขนาด 446 Byte เป็นพื้นที่ที่โปรแกรมบูทโหลดเดอร์ (โปรแกรมจัดการการบูท)ของลีนุกซ์จะไปติดตั้งอยู่ ใช้ในการบูทของลีนุกซ์
Partition table ขนาด 64 Byte และ MBR Sinature อีก 2 Byte
การสร้างพาร์ติชันให้กับฮาร์ดดิสก์ มี 3 แบบ คือ Primary, Extended และ Logical ในการสร้างพาร์ติชันฮาร์ดดิสก์ ถ้าเราสร้างทุกพาร์ติชันให้เป็น Primary ทั้งหมด จะสร้างได้เพียง 4 พาร์ติชันเท่านั้น
ถ้าต้องการมากกว่านั้นต้องใช้ 1 พาร์ติชันเป็น Extended แล้ว แบ่งย่อย Extended เป็น Logical ตัวอย่างดังภาพ ที่ 2.3 และ 2.4
ลีนุกซ์เคอร์เนลมีข้อจำกัดในการจัดการพาร์ติชันที่เป็นฮาร์ดดิสก์ IDE ได้ 63 พาร์ติชัน ฮาร์ดดิสก์ SCSI จะได้ 15 พาร์ติชัน พาร์ติชันแรกของ Logical partition จะเป็น Partition ที่ 5 เสมอ
การเรียกชื่อฮาร์ดดิสก์
ฮาร์ดดิสก์ที่เชื่อมต่อกับลีนุกซ์ มีชื่อเรียกต่างๆ กันไปตามชนิดของฮาร์ดดิสก์ หรือเซิร์ฟเวอร์บางยี่ห้อก็มีชื่อเรียกแปลกๆ ไปตามการ์ด RAID ซึ่งพบได้น้อย จะเรียกชื่อฮาร์ดิสก์ตามชนิดฮาร์ดดิสก์มากกว่า เช่นฮาร์ดดิสก์ IDE การเรียกชื่อฮาร์ดดิสก์ IDE ขึ้นกับการเชื่อมต่อกับตำแหน่งของสาย IDE ดังนี้
Primary Master เรียกว่า /dev/hda
Primary Slave เรียกว่า /dev/hdb
Secondary Master เรียกว่า /dev/hdc
Secondary Slave เรียกว่า /dev/hdd
ลำดับที่ของ พาร์ติชันของฮาร์ดดิสก์ลำดับที่เท่าไหร่ก็จะเรียก /dev/hda1, /dev/hda2 …, /dev/hdb1, /dev/hdb2…,
/dev/hdc1, /dev/hdc2…
ฮาร์ดดิสก์ SCSI จะเรียกชื่อตาม SCSI ID
SCSI ID 0 เรียกว่า /dev/sda
SCSI ID 1 เรียกว่า /dev/sdb
SCSI ID 2 เรียกว่า /dev/sdc
SCSI ID 3 เรียกว่า /dev/sdd
SCSI ID.. เรียกว่า /dev/sd…
เรื่อยๆไปตามจำนวนฮาร์ดดิสก์ที่สามารถใส่ได้ของ SCSI แต่ถ้าฮาร์กดิสก์ SCSI ที่ทำ RAID รวมฮาร์ดดิสก์หลายก้อนเป็นก้อนเดียว ก็เปรียบเสมือนมีฮาร์ดดิสก์ก้อนเดียว เรียกชื่อเป็น /dev/sda ลำดับที่ของพาร์ติชันก็เช่นเดียวกันกับฮาร์ดดิสก์แบบ IDE เช่น /dev/sda1, /dev/sda2…, /dev/sdb1, /dev/sdb2…, /dev/sdc1, /dev/sdc2… ส่วน ฮาร์ดดิสก์ SATA ก็จะเรียกชื่อเหมือนกับฮาร์ดดิสก์ SCSI
Unified Extensible Firmware Interface (UEFI)}
เมื่อ ฺBIOS ที่ใช้ MBR ในการจัดการฮาร์ดิสก์ มีข้อจำกัด ที่ 4 Primary Partition และจัดการดิสก์ได้ไม่เกิน 2 TฺB แต่ฮาร์ดแวร์ก็พัตนาไม่หยุด เพื่อหยุดแก้ไขข้อจำกัดเหล่านี้ ก็จำเป็นต้องมี UEFI
\noindent \textbf{EFI (Extensible Firmware Interface)}
ประมาณปี 2000 อินเทลก็ได้มีการพัฒนาเฟิร์มแวร์ที่คอยทำหน้าที่เชื่อมต่อกับส่วนประกอบฮาร์ดแวร์ขึ้นใหม่แล้วและรู้จักกันทั่วไปในชื่อที่เรียกว่า EFI (Extensible Firmware Interface)
ถึงปี 2005 บริษัทสำคัญๆ อาทิ Intel, AMD, Apple, Dell, HP และ Microsoft ก็ได้มีการรวมตัวกันจัดตั้งฟอรัม Unified EFI เพื่อกำหนดมาตรฐานและรายละเอียดที่แน่นอนของเฟิร์มแวร์แบบใหม่นี้ จนกระทั่งเฟิร์มแวร์อินเทอร์เฟสที่มีชื่อว่า UEFI
UEFI (Unified Extensible Firmware Interface)
UEFI เป็นส่วนติดต่อเฟิร์มแวร์มาตรฐานสำหรับพีซีที่ออกแบบมาเพื่อใช้แทน BIOS (Basic Input/Output System) มาตรฐานนี้สร้างขึ้นโดยบริษัทด้านเทคโนโลยีกว่า 140 บริษัทโดยเป็นส่วนหนึ่งของกลุ่มบริษัท UEFI รวมทั้ง Microsoft ด้วย
เฟิร์มแวร์นี้ได้รับการออกแบบขึ้นเพื่อปรับปรุงความสามารถในการทำงานร่วมกันของซอฟต์แวร์และเพื่อแก้ไขข้อจำกัดต่างๆ ของ BIOS
ข้อดีของ UEFI
- ความปลอดภัยที่ดีขึ้นด้วยการช่วยปกป้องกระบวนการก่อนเริ่มต้นระบบหรือพรีบูตจากการโจมตีที่ bootkit
- เวลาเริ่มต้นระบบและการกลับมาดำเนินการต่อจากการไฮเบอร์เนตที่รวดเร็วขึ้น
- รองรับไดรฟ์ที่มีขนาดใหญ่กว่า 2.2 เทราไบต์ (TB)
- รองรับโปรแกรมควบคุมอุปกรณ์เฟิร์มแวร์แบบ 64 บิตรุ่นใหม่ที่ระบบสามารถใช้เพื่อจัดการหน่วยความจำขนาดสูงกว่า 17.2 พันล้านกิกะไบต์ (GB) ระหว่างเริ่มต้นระบบ
- มีความสามารถในการใช้ BIOS กับฮาร์ดแวร์ UEFI
GUID Partition Table (GPT)
- GPT เอามาแทน MBR ในเครื่องรุ่นใหม่ที่ใช้ UEFI (Unified Extensible Firmware Interface)
- ไม่จำเป็นต้องมี extended partition
- แต่ละพาร์ติชันจะมี “globally unique identifier” GUID
- ไม่จำกัดจำนวน พาร์ติชัน (ขึ้นกับ OS)
- GPT keeps a backup of the partition table at the end of the disk
การเรียกชื่อฮาร์ดดิสก์แบบ GPT
การเรียกชื่อจะเป็ยแบบเดียวกับฮาร์ดิสก์ตระกูล SCSI /dev/sda /dev/sdb /dev/sd… ส่วนดำดับพาร์ติชันก็จะเป็น /dev/sda1 /dev/sda2 /dev/sda…
แหล่งดาวน์โหลด CentOS
CentOS มีให้ดาวน์โหลดที่เว็บไซต์ของ CentOS http://www.centos.org/download
หรือจะดาวน์โหลดเว็บไซต์ในประเทศไทยของเรา เช่น
http://mirror1.ku.ac.th http://mirror1.ku.ac.th/centos-cd-dvd
CentOS 8 รองรับ CPU 64 bit เท่านั้น ไม่ได้ทำมาสำหรับ CPU 32 bit
การนำไฟล์ .iso มาใช้งาน
เมื่อดาวน์โหลดไฟล์ CentOS-8-x86_64-1905-dvd1.iso มาแล้วก็สามารถนำไปใช้ติดตั้งบน VirtualBox หรือ Vmware ได้เลย
ถ้าจะไปติดตั้งจริงบนเครื่องเซิร์ฟเวอร์ เครื่องพีซี หรือโน้ตบุ๊ค ก็จำเป็นต้องเขียนไฟล์นี้ลงแผ่น DVD ก่อน
ด้วยโปรแกรมเขียนแผ่น CD/DVD โดยไปที่เมนู Burn Image ดังภาพ
บนลีนุกซ์อาจใช้โปรแกรม K3B หรือ Brasero ในที่นี้จะยกตัวอย่างโปรแกรม K3B เลือกเมนู ฺBurn Image
เมื่อได้แผ่น DVD ที่เขียนเสร็จเรียบร้อยแล้ว ก็พร้อมที่จะนำไปติดตั้ง หรือจะสร้างตัวติดตั้งด้วยอุปกรณ์ USB เช่น สร้างด้วยโปรแกรม Unetbootin ซึ่งมีทั้งบน Linux Windows และ MacOS
พร้อมแล้วสำหรับการติดตั้ง CentOS 8