การทำภาพ HDR ด้วยโปรแกรม Darktable

การทำภาพ HDR ด้วยโปรแกรม Darktable

บล็อกนี้จะพูดถึง การทำภาพ HDR ด้วยโปรแกรม Darktable  โดยปกติทั่วไปถ้าเราถ่ายรูปในเวลาที่แสงพอดี ไม่มีส่วนมืดส่วนสว่าง มันก็ทำให้เราได้ภาพออกมาสวยงามเหมือนตาเห็น  แต่เคยสังเกตุหรือไม่เวลาเราถ่ายภาพวิวตอนพระอาทิตย์ขึ้น หรือพระอาทิตย์ตก เรามักจะได้ภาพที่เรียกว่าไม่ได้ดั่งใจ  ไม่เหมือนตาเห็น สมมติว่าเวลาเราถ่ายภาพวิวตอนที่พระอาทิตย์กำลังขึ้นบนภูเขา แน่นอนว่าภาพจะต้องมีท้องฟ้า และภูเขาหรือ foreground อื่นๆ  ทั้งสองอย่างนี้แสงไม่เท่ากัน ถ้าเราถ่ายรูปแบบทั่ว ๆ ไป ก็จะได้รูปมาประมาณนี้

  • ท้องฟ้าสว่างจ้าจนไม่เห็นรายลเอียดของเมฆ แต่ภูเขาสว่าง
  • ท้องฟ้าสว่างแต่รายละเอียดของเมฆน้อย แต่ภูเขามืดนิดหน่อย
  • ท้องฟ้าพอดีเห็นรายละเอียดของเมฆ แต่ภูเขามืดสนิท

ปัญหาเหล่านี้จะหมดไปถ้าเราถ่ายโหมด HDR ทั้งในกล้องโทรศัพท์มือถือ และกล้อง DSLR โหมดนี้ของกล้องก็จะจัดการถ่ายรูปหลายรูปที่มีค่าแสงต่างกันแล้วเอามารวมเป็นภาพเดียวให้เราเลย ทำให้รูปที่มีปัญหาดังกล่าว เป็นรูปที่มีแสงที่พอดีทั้งในส่วนที่เป็นท้องฟ้าและส่วนที่เป็นภูเขา สำหรับคนที่ถ่ายรูปเป็น JPEG ก็จบแค่ตั้งโหมด HDR  แล้วถ้าคนที่ถ่าย RAW ก็ต้องถ่ายคร่อมแสง ให้ได้ภาพเป็นแบบ 3 ภาพ ดังที่ยกตัวอย่างไป แล้วค่อยเอามารวมกันในโปรแกรมแต่งรูปอีกที สำหรับโปรแกรม Darktable ก็มีมีปุ่มสำหรับสร้าง HDR มาให้

การทำภาพ HDR ด้วยโปรแกรม Darktable

 

เลือกไฟล์ทั้ง 3 แล้วกดปุ่ม Create HDR โปรแกรมก็จะสร้างไฟล์ใหม่ที่ผ่านการรวม 3 ไฟล์นั้นมาให้ เป็นไฟล์นามสกุล.dng

การทำภาพ HDR ด้วยโปรแกรม Darktable

 

นำไฟล์นั้นมาแต่งต่อ ก็จะได้ภาพที่ดูดีขึ้น ได้รายละเอียดของท้องฟ้า foreground และภูเขาสว่างขึ้น

การทำภาพ HDR ด้วยโปรแกรม Darktable



คราวนี้มาดูความหมายของ HDR กัน HDR  ย่อมาจาก High Dynamic Range เป็นเทคนิคการสร้างภาพเพื่อให้ภาพมีรายละเอียดครบทุกส่วน ทั้งในส่วนมืดและส่วนสว่าง เพราะว่ากล้องไม่สามารถเก็บรายละเอียดทั้งส่วนมืดและส่วนสว่างได้ครบเหมือนที่ตาของคนเรามองเห็น

บ้างก็บอกว่า HDR (High Dynamic Range) คือ ความสามารถในการสร้างภาพที่มีช่วงการรับแสงสูงกว่าปกติ ที่กล้องดิจิตอลทั่วไปจะสามารถทำได้ เป็นภาพที่มีความสว่างชัดเจนทั่วทั้งภาพ และดูมีมิติ

อ้างอิง

>>เกี่ยวกับลีนุกซ์<<

>>เกี่ยวกับภาพถ่าย<<

 

Loading