การติดตั้ง PostgreSQL 12 บน CentOS 8

การติดตั้ง PostgreSQL 12 บน CentOS 8 PostgreSQL 12 เป็นเวอร์ชันล่าสุดในตอนนี้ การติดตั้งมีคำแนะนำอยู่ในเว็บ postgresql.org อยู่แล้ว ที่ https://www.postgresql.org/download/linux/redhat/ ซึ่งสามารถทำตามขั้นตอนนั้นได้เลย แต่มีปัญหาว่าทำตามขั้นตอนนั้นแล้วค้นหาแพ็กเก็จ postgresql12 ไม่เจอ ไม่สามารถติดตั้งได้ มีวิธีการแก้ปัญหาอย่างไร ติดตามได้ครับ

Read more

Loading

สิ่งที่ควรทำหลังจากติดตั้ง CentOS 8

สิ่งที่ควรทำหลังจากติดตั้ง CentOS 8 เสร็จ หลังจากที่เราติดตั้ง CentOS เสร็จแล้ว บางครั้งในขั้นตอนการติดตั้งเราได้ตั้งค่าบางอย่างผิดพลาดไป ก็สามารถตั้งค่าใหม่ได้ ซึ่งมีเครื่องมือต่างๆ มาช่วยอำนวยความสะดวก ไม่ว่าจะเป็น คำสั่ง, TUI และ GUI ก็สามารถเลิกใช้ได้ตามถนัด

ปิดการทํางานของ SELinux

Security-Enhanced Linux (SELinux) เป็นระบบรักษาความปลอดภัยที่เพิ่มเติมเข้ามารวมกันเข้ากับเคอร์เนล ตั้งแต่เคอร์เนล 2.6.x เป็นต้นมา ซึ่งมีความยุ่งยากซับซ้อนในการใช้งานพอสมควร ถ้าไม่ปิดไปก่อนก็จะสร้างปัญหาให้กับการทำงานเป็นอย่างมาก จึงแนะนำให้ปิดไปก่อน

Read more

Loading

การติดตั้ง CentOS 8

การติดตั้ง CentOS 8 นั้นไม่ได้ยาก ถ้าหากเรามีความเข้าใจการแบ่งพาร์ติชัน เพราะส่วนมากที่ติดตั้งไม่ผ่านนอกจากปัญหาฮาร์ดแวร์แล้ว ก็ติดตรงขั้นตอนการแบ่งพาร์ติชัน

สิ่งควรรู้ก่อนติดตั้ง CentOS 8

เซิร์ฟเวอร์ที่จะติดตั้ง เป็น BIOS หรือ UEFI

เซิร์ฟเวอร์รุ่นเก่าที่เป็น BIOS จัดการดิสก์ แบบ Master Boot Record มี Primary
Partition, Extended Partition และ Logical Partition ข้อจำกัดคือแบ่งเป็น
Primary Partition ได้แค่ 4 พาร์ติชัน หาต้องการมากกว่านั้น ก็ต้องแบ่งเป็น
Extended Partition แล้วแบ่ง เป็น Logical Partition และจัดการดิสก์ได้ไม่เกิน 2 TB ส่วน UEFI ใช้ GPT (GUID Partition Table) ในการจัดการดิสก์
แบ่งพาร์ติชั้นได้ไม่จำกัดขึ้นกับ OS รองรับดิสก์มากกว่า 2 TB

Read more

Loading

รู้จักฮาร์ดดิสก์

รู้จักฮาร์ดดิสก์ สำหรับฮาร์ดดิสก์เชื่อว่าทุกคนคงรู้จักกันดีเพราะเป็นอุปกรณ์สำคัญที่ขาดเสียไม่ได้ แต่จะมีใครที่เข้าใจถึงโครงสร้างภายในของฮาร์ดดิสก์ สำหรับผู้ใช้งานวินโดว์ ไม่จำเป็นต้องรู้ก็ได้เพราะสุดท้ายแล้ว เราก็ได้ Drive C:\ Drive D:\ … แต่สำหรับลีนุกซ์แล้วหากไม่เข้าใจโครงสร้างของฮาร์ดดิสก์แล้ว ในขั้นตอนพาร์ติชันอาจทำให้งง และไม่สามารถแบ่งพาร์ติชันได้ สำหรับคอมพิวเตอร์ที่เป็น BIOS ก็จะจัดการฮาร์ดดิสก์แบบ MBR ส่วนคอมพิวเตอร์ที่เป็น UEFI ก็จะจัดการฮาร์ดดิสด์ แบบ GUID

Read more

Loading

ประวัติความเป็นมาของลีนุกซ์

ประวัติความเป็นมาของลีนุกซ์ เมื่อพูดถึงลีนุกซ์คงจะต้องพูดเรื่องซอฟต์แวร์เสรี หรือ ซอฟต์แวร์โอเพนซอร์ส พราะลีนุกซ์ก็จัดอยู่ในซอฟต์แวร์ประเภทนี้ แนวความคิดเรื่องนี้มีที่มาอย่างไร ของฟรีและดี มีจริงหรือเปล่า

ซอฟต์แวร์เสรี

โครงการ GNU ได้เริ่มขึ้นเมื่อปี ค.ศ. 1984 เพื่อพัฒนาระบบปฏิบัติการที่เหมือนกับยูนิกซ์ (Unix-like)ที่สมบูรณ์ และเป็นซอฟต์แวร์เสรี เคอร์เนลของ GNU พัฒนาไม่สำเร็จ แต่มันก็ได้นำไปใช้ในเคอร์เนลของลีนุกซ์ ซึ่งใช้กันอยู่อย่างกว้างขวางในขณะนี้ อย่างไรก็ตาม ระบบเหล่านี้ มักจะถูกเรียกว่า ลีนุกซ์ ซึ่งจริงๆ แล้ว ถ้าจะเรียกให้ถูกต้อง มันควรจะเรียกว่า ระบบกนู/ลีนุกซ์ (GNU/Linux systems)

Read more

Loading